สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 ก.ย. 61



ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด 10 โครงการ ดังนี้
(1) ด้านการผลิต* ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) 2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง 4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming) 5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ 6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร และ 7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และ 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการ นบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,800 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 15,243 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.21
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,556 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,490 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,090 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,750 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,892 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,135 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,915 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.62 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 23 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,116 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,107 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 9 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 394 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,728 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 391 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 11 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 406 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,116 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 403 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,107 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.74 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 9 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.3049
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ตันละ 400-405 ดอลลาร์สหรัฐ จากตันละ 397-403 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากอุปทานข้าวในตลาดอยู่ในภาวะค่อนข้างตึงตัวจากการเกิดน้ำท่วมและฝนตกในพื้นที่เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (the Mekong Delta) ประกอบกับมีข่าวว่าฟิลิปปินส์จะซื้อข้าวเพิ่มเติมอีก 133,500 ตัน และจะประมูลซื้อข้าวอีก 250,000 ตัน
          กระทรวงเกษตร (the Ministry of Agriculture and Rural Development; MARD) รายงานว่า ขณะนี้หลายจังหวัดทางภาคใต้ของประเทศเก็บเกี่ยวข้าวฤดูการผลิต the summer-autumn crop แล้ว 6 ล้านไร่ โดยเฉพาะในเขต
ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง (Mekong Delta) เก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 5.52 ล้านไร่ (พื้นที่เพาะปลูกฤดูนี้ทั้งประเทศประมาณ 12.75 ล้านไร่ แบ่งเป็นภาคเหนือประมาณ 1.04 ล้านไร่ และภาคใต้11.69 ล้านไร่) ทั้งนี้ คาดว่ามีผลผลิตข้าวเปลือก
ในจังหวัดทางภาคใต้ที่เก็บเกี่ยวจำนวน 11.2 ล้านตัน ลดลงประมาณร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
          ฟิลิปปินส์
          กระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (The Department of Agriculture) เปิดเผยว่า พายุไต้ฝุ่นมังคุดสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตข้าวเปลือกมากถึง 250,730 ตัน และข้าวโพดอีก 1,204 ตัน หลังพายุพัดถล่มจังหวัดทางภาคเหนือของประเทศเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเบื้องต้นกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ (The Department of Agriculture) ประเมินความเสียหายด้านการเกษตรเป็นมูลค่าประมาณ 9.6 พันล้านเปโซ หรือประมาณ 177 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นมากกว่าที่เคยพยากรณ์ไว้ก่อนหน้านี้ถึงร้อยละ 60 อย่างไรก็ตามทางการคาดว่า มูลค่าความเสียหายอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 11-12 พันล้านเปโซ ซึ่งทางการต้องรอรายงานความเสียหายจากหน่วยงานในพื้นที่อีกครั้ง ก่อนที่จะสรุปความเสียหายทั้งหมดได้
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          อินเดีย
          ภาวะราคาข้าวในสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงปรับลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 17 เดือน จากภาวการณ์ค้าที่ค่อนข้าง
ซบเซา ประกอบกับค่าเงินรูปียังคงมีทิศทางอ่อนค่าลงนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ค่าเงินรูปีอ่อนค่าลงแล้วประมาณร้อยละ 13 โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ตันละ 371-375 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 5 ดอลลาร์สหรัฐฯ จากตันละ 376-380 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาข้าวยังคงมีทิศทางปรับลดลง ส่งผลให้ผู้ซื้อจากต่างประเทศชะลอการซื้อข้าวในช่วงนี้ เพราะคาดว่าราคาข้าวยังคงมีแนวโน้มอ่อนตัวลงอีก
          กระทรวงเกษตร รายงานว่า การเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิต Kharif (มิถุนายน-ธันวาคม) ของปีการผลิต 2561/62 ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2561 มีการเพาะปลูกแล้วประมาณ 238.69 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 2.3
เมื่อเทียบกับเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในปีนี้ฤดูมรสุมที่พัดเอาลมฝนจากด้านตะวันตกเฉียงใต้เข้ามาในประทศซึ่งจำเป็นต่อ การเพาะปลูกข้าวในฤดูการผลิต Kharif ปรากฏว่ามาเร็วกว่าปกติ แต่การกระจายตัวของฝนยังไม่ดีนัก
          กรมอุตุนิยมวิทยา (the Indian Meteorological Department; IMD) รายงานว่า วันที่ 18 กันยายน 2561
ที่ผ่านมา อินเดียมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ 10 โดยฝนที่ตกบริเวณคาบสมุทรทางภาคใต้มีปริมาณสูงกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 1 ขณะที่ในภาคกลาง ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตก
ในระดับที่ต่ำกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 6 ร้อยละ 6 และร้อยละ 24 ตามลำดับ ทั้งนี้ ฤดูมรสุมของอินเดียจะอยู่ในช่วง ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายนถึง 30 กันยายน ซึ่งฝนที่ตกในช่วงเวลานี้มีความจำเป็นต่อการเพาะปลูกพืชของอินเดียใน
ฤดูการผลิต Kharif
          ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


ราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ

ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.60 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.48 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.20 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.16 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.78
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.76 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.57 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.22 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.29 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 283.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,142 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 277.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,025 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.98 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 117.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 348.16 เซนต์ (4,488 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 360.72 เซนต์ (4,680 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.48 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 192.00 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 7.87 ล้านไร่ ผลผลิต 27.24 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.46 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.71 ล้านไร่ ผลผลิต 30.50 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.50 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 9.64  ร้อยละ 10.69 และร้อยละ 1.14 ตามลำดับ โดยเดือนกันยายน 2561 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.13 ล้านตัน (ร้อยละ 4.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – สิงหาคม 2561) ปริมาณ 27.24 ล้านตัน (ร้อยละ 100 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
                        เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการของโรงงานแป้งมันสำปะหลังและลานมันเส้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.43 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.45 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.82  
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.91 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.80 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.90   
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.83 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.76 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.04
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.29 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.25 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.26
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,527 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ (7,578 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 500 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,152 บาทต่อตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,099 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.01

 
 


ปาล์มน้ำมัน
 

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.274 ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.217 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.137 ล้านตัน
คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.193 ล้านตัน ของเดือนสิงหาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 12.05  และร้อยละ 12.44 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.06 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.12 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.92                   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.80 บาท ลดลงจาก กก.ละ 19.55 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.84       
   
 2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนธันวาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,143 ริงกิตต่อตัน (519.14 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ลดลงร้อยละ 0.1 ซึ่งราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวลดลงเนื่องจากผลผลิตปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้น ขณะเดียวมาเลเซียได้กระตุนการส่งออกโดยประกาศการปรับลดภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในเดือนตุลาคม 2561 เป็นภาษีร้อยละ 0 และภาษีลดลงจากร้อยละ 4.5 ในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบยังได้รับผลกระทบจากน้ำมันพืชอื่นๆ ที่เป็นพืชแข่งขันในตลาดน้ำมันพืชโลก อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวอยู่ที่ระดับ 2,140 - 2,162 ริงกิตต่อตัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ  
          ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,130.90 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.99 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,206.94 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.45   
          ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 548.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.95 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 565.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (18.62 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.99         
                            
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล 
 
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน               
  1. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
            อินเดียเตรียมพิจารณาเพิ่มโควตาการส่งออกน้ำตาล
          รัฐบาลอินเดียกำลังพิจารณาข้อเสนอที่จะเพิ่มโควตาการส่งออกน้ำตาลในปี 2561/2562 เป็น 5 ล้านตัน จาก 2 ล้านตัน ในปี 2560/2561 เพื่อชดเชยราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำ
โดยรัฐบาลจะต้องจัดหาเงินจำนวน 45 พันล้านรูปี (1 เหรียญสหรัฐฯ เท่ากับ 72.55 รูปี) เพื่ออุดหนุนสำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในอัตรา 138.8 รูปี/ตันอ้อย จาก 55 รูปี/ตันอ้อย
ในปี 2560/2561 และยังพิจารณาชดเชยค่าขนส่งน้ำตาลและค่าใช้จ่ายระหว่าง 1,000-3,000 รูปี/ตัน จากโรงงานน้ำตาลไปยังท่าเรือ
                    

 


ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 827.80 เซนต์ (9.96 บาท/กก.) สูงขึ้นจาก บุชเชลละ 827.44 เซนต์ (10.02 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.04
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 305.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 314.26 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.35 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 27.37 เซนต์ (19.75 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 27.75 เซนต์ (20.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.37


 


ยางพารา
 
ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 41.14 บาท/กิโลกรัม
1. ราคายางพาราภายในประเทศ
1.1  ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
1) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.63 บาท ลดลงจาก 42.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.37 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.88 
2) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.13 บาท ลดลงจาก 41.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.37 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.89
3) ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.63 บาท ลดลงจาก 41.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.37 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.90
4) ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.22 บาท ลดลงจาก 20.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.86 บาท หรือลดลงร้อยละ 4.28
5) เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.83 บาท ลดลงจาก 16.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 6.05
6) น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.78 บาท ลดลงจาก 37.41 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.63 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.68
1.2 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนตุลาคม 
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.27 บาท ลดลงจาก 48.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.04
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.12 บาท ลดลงจาก 47.14 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.04
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.42 บาท ลดลงจาก 44.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.36
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.81 บาท ลดลงจาก 33.90 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.27
ท่าเรือสงขลา 
1)  ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.02 บาท ลดลงจาก 48.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.04
2)  ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.87 บาท ลดลงจาก 46.89 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.02 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.04
3) ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.17 บาท ลดลงจาก 44.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.16 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.36
4) น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.56 บาท ลดลงจาก 33.65 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.09 บาท หรือลดลงร้อยละ 0.27
2.  ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าต่างประเทศ  
2.1 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 143.86 เซนต์สหรัฐฯ (46.47 บาท) เท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.45 เยน (42.98 บาท) ลดลงจาก 153.42 เยน (44.53 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 2.97 เยน หรือลดลงร้อยละ 1.94

 
 

 
สับปะรด
 

 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ                                                                                                                                                                                                                                                      
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 833.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 827.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.92 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 740.20 ดอลลาร์สหรัฐ (23.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 735.00 ดอลลาร์สหรัฐ (23.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 585.20 ดอลลาร์สหรัฐ (18.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 580.60 ดอลลาร์สหรัฐ (18.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 398.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.87 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 395.40 ดอลลาร์สหรัฐ (12.86 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.76 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 796.40 ดอลลาร์สหรัฐ (25.73 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 790.80 ดอลลาร์สหรัฐ (25.72  บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท



 


ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.22 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.18
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 
 


ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 80.72 เซนต์ (กิโลกรัมละ 58.27 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 82.69 เซนต์ (กิโลกรัมละ 60.07 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.38และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.80 บาท
 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,727 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,709 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 1.05
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,393 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,406 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 0.92
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,187 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,198 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.92


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
สัปดาห์นี้ภาวะตลาดสุกร ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณสุกรออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  60.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.60  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 59.40 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.51 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 62.13 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 63 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 64.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 65.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.03

 
 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคไก่เนื้อชะลอตัวลงใกล้เคียงกับปริมาณผลผลิตไก่เนื้อที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.03 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.24  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.31 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.32 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ลดลงจากตัวละ 12.50 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  33.83 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.94  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.50 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  
 

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรงทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  282 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 279 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 311 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 327 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 328 บาท  ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ  0.30 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 350 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 338 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 296 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ  348 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 89.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 89.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.26 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 83.23 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.69 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 100.29 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 69.68 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.30บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.46 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต

เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 – 20 กันยายน 2561) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.17 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 38.25 สัปดาห์ที่ผ่านมา 1.08 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 89.01 บาท ราคาลดลงจาก
กิโลกรัมละ 90.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.10 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.80 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 147.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.24 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 138.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.33 บาท
 2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.82 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 83.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 8.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 120.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 20.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.38 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 8.47 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 14- 20 ก.ย. 2561) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา